ลดเสี่ยง เลี่ยงเจ็บ อุบัติเหตุในวัยเก๋าป้องกันได้

755 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ลดเสี่ยง เลี่ยงเจ็บ อุบัติเหตุในวัยเก๋าป้องกันได้

สูงวัยใจต้องนิ่ง ยิ่งอายุเยอะก็ยิ่งมีความเสี่ยงกับอุบัติเหตุมากขึ้น วัยเก๋าแบบเราบาดเจ็บขึ้นมาอะไหล่ยิ่งหายากด้วยนะ เพราะการบาดเจ็บเพียงเล็กๆ น้อยๆ ก็อาจทำให้เป็นเรื่องใหญ่และลามไปถึงขั้นเรื้อรัง หรืออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ยิ่งวัยเก๋าที่ต้องใช้ชีวิตเดินทางบ่อยๆ ไม่ว่าจะรถยนต์ส่วนตัว หรือใช้บริการรถสาธารณะ อาจจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่น เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุพลัดตก หรือ เจอเหตุการณ์ไม่คาดฝันโดยเฉพาะอุบัติเหตุสาธารณะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้ามเลยแหละ ยิ่งถ้าอยู่ในช่วงวัยเก๋า แล้วด้วยยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ ถ้าโชคดีก็บาดเจ็บเล็กน้อย ถ้าเป็นหนักมากก็อาจจะพิการหรือเสียชีวิตได้  

แต่ส่วนใหญ่หลายคนอาจจะยังสงสัยว่าอุบัติเหตุสาธารณะคืออะไร วันนี้ MTL จะมาไปทำความรู้จักกับอุบัติเหตุสาธารณะกัน และวัยเก๋าแบบเรามีสาเหตุหรือปัจจัยอะไรบ้างที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุรวมไปถึงวิธีการป้องกันเพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุด้วยนะ ตามไปดูกันเลย

รู้ไว้ไม่เสี่ยงสาเหตุของอุบัติเหตุในวัยเก๋า
ความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุพูดเลยว่ามันมีอยู่รอบตัว ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากร่างกายที่เสื่อมถอยลง รวมไปถึงสภาพแวดล้อมในสถานที่นั้นๆ ด้วย ซึ่งสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในวัยเก๋า มีด้วยกันหลายปัจจัยแบ่งออกได้ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย

• ระบบประสาทสัมผัสเสื่อม อาจเกิดอาการมองเห็นไม่ชัด หูตึง อาจไม่ได้ยินเสียงรถ เสียงแตร เวลาข้ามถนนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
• ระบบการทรงตัวไม่ดี อาจทำให้เสียหลักในการวิ่งหรือเดิน เสี่ยงต่ออุบัติเหตุได้
• กล้ามเนื้อขาดความแข็งแรงในการช่วยพยุงตัว
• ระบบหัวใจและหลอดเลือด ต้องหมั่นคอยตรวจเช็กร่างกายเสมอ เพราะหากขับรถอยู่และอาการกำเริบขึ้นมา อาจทำให้เกิดเหตุไม่คาดฝันได้

สิ่งแวดล้อม

• แสงสว่างไม่เพียงพอ เช่น ขับรถเวลาฝนตกหนัก หรือทางที่มืดสนิท ก็อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
• ขึ้นรถโดยสารสาธารณะแล้วพลัดตก หรือเกิดอุบัติเหตุ
• การใช้ชีวิตประจำวันในการขึ้นลงบันไดที่อาจจะลื่นหรือไม่มีราวบันไดให้เกาะ
• พื้นที่มีสิ่งของวางระเกะระกะ กีดขวาง เช่น สายไฟ ของเล่นเด็ก ผ้าขี้ริ้ว สัตว์เลี้ยง
• เครื่องมือช่วยเดินไม่ดี เช่น ไม้เท้าที่ไม่มียางกันลื่น หรือ รถเข็นที่ไม่มีที่ห้ามล้อ

อุบัติเหตุแบบไหนที่วัยเก๋าควรระวัง
ข้อนี้ต้องระวังกันเป็นพิเศษหน่อยยยย! เพราะวัยเก๋าแบบเราหากพลาดเกิดอุบัติเหตุ จะหาอะไหล่เปลี่ยนก็ยากแล้วนะ เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ลองตามมาดูกันว่าอุบัติเหตุแบบไหนบ้าง ที่วัยเก๋าควรจะต้องระวัง

อุบัติเหตุบนท้องถนน เรื่องนี้สำคัญมากเพราะอาจเกิดได้ทั้งจากตัวเราและบุคคลอื่น เช่น การเดินทางโดยรถสาธารณะ เช่น พลัดตกรถโดยสารหรือถูกรถเฉี่ยวชนขณะเดินบนถนน ข้ามถนน เนื่องจากสายตาไม่ดี หูไม่ได้ยินเสียงชัดเจน และการตัดสินใจหลบหลีกไม่ทัน หรือด้วยวัยทำให้สมรรถภาพในการขับรถอาจลดลง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้
ลื่นหกล้ม พบมากที่สุดโดยเฉพาะลื่นล้มในห้องน้ำ ทำให้กระดูกสะโพกหัก บางรายอาจเสียชีวิตได้ จากการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคที่เป็นร่วม  เช่น มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจไตวาย ฉะนั้น การลื่นหกล้มเพียงครั้งเดียวอาจทำให้เป็นเรื่องใหญ่โดยที่เราคาดไม่ถึงก็ได้
พลัดตกหกล้ม  เกิดกับผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 65-75 ปี มักเกิดจากการตกเตียง ตกบันได เก้าอี้ ระเบียงบ้าน ต้นไม้ ตกหลุม และตกท่อ เป็นอุบัติเหตุเกิดขึ้นในบ้านเป็นส่วนใหญ่
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เนื่องจากประสาทสัมผัสความรู้สึกร้อนเสื่อมลง เช่น ปรุงอาหาร หากไม่ระวังอาจก่อให้เกิดเป็นแผลตามตัวได้
สำลักอาหาร น้ำ และอาหารติดค้างในหลอดลม พบบ่อยในผู้สูงอายุที่มีการจำกัดการเคลื่อนไหว แขน ขา ซึ่งหากไม่ระวังในการรับประทานอาหารอาจร้ายแรงถึงขั้นหายใจไม่ออกและเสียชีวิตได้

อุบัติเหตุสาธารณะความเสี่ยงในชีวิตประจำวัน
ขึ้นชื่อว่าสาธารณะก็พอเดากันออกใช่มั้ย ว่ามันสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป แต่ในที่นี้อุบัติเหตุสาธารณะจะหมายถึง อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นขณะที่เราเป็นผู้โดยสารและเกิดอุบัติเหตุจากรถสาธารณะ เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าใต้ดิน รถโดยสารขนส่ง รถโดยสารบริษัทขนส่ง รถโดยสารบริษัทเป็นต้น และที่น่ากลัวก็คือ เรื่องของอุบัติเหตุ มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการควบคุมของตัวเราคนเดียว แต่อยู่ที่สภาพแวดล้อม หรือบุคคลอื่นด้วย ต่อให้เรารอบคอบ ไม่ประมาทอย่างดีแล้ว แต่ถ้าสภาพแวดล้อมไม่ดีหรือคนอื่นประมาท เราก็มีโอกาสได้รับอุบัติเหตุ โดยที่เราคาดไม่ถึงด้วยเช่นเดียวกันยิ่งวัยเก๋าด้วยแล้วต้องระมัดระวังเป็นพิเศษนะ เพราะหากเกิดอุบัติเหตุแล้วก็อาจเกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น กระดูกข้อมือ ข้อสะโพก หรือกระดูกสันหลังหัก เลือดคั่งในสมอง เป็นต้น

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุในวัยเก๋า มีอะไรบ้างมาดูกันเลย อย่างแรกควรสังเกตอาการของตัวเอง เช่น ความผิดปกติของการมองเห็นและความผิดปกติของการเดิน การทรงตัว เนื่องจากวัยเก๋าจะมีกลไกการทำงานที่ควบคุมการทรงตัวของระบบอวัยวะต่างๆ ลดลง อาจเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุได้ วิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ มีดังนี้

การปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงเมื่อต้องใช้รถสาธารณะ หากขึ้นรถไฟฟ้าหรือหรือเมล์ควรจับราวเกาะให้แน่น หรือมองหาที่นั่งสำหรับผู้สูงอายุเพื่อความปลอดภัยในการเดินทาง และไม่ควรรีบขึ้นหรือลงเกินไปเพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หรือหากโดยสารด้วยรถมอเตอร์ไซค์ ควรสวมหมวกกันน็อคทุกครั้ง
หากต้องเดินทางควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ในช่วงเวลาที่มีทัศนวิสัยไม่ดี เช่น ช่วงกลางคืน ฝนตกหนัก หมอกควันปกคลุมเส้นทาง เพราะสายตาไม่สามารถปรับสภาพให้มองเห็นเส้นทางได้
ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ และหลีกเลี่ยงยาต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม
หลีกเลี่ยงการขับรถในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย เลือกใช้เส้นทางที่ปลอดภัย และคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่ขับรถ 
ควรวางแผนการเดินทางล่วงหน้า เพื่อที่จะได้ไม่ต้องคอยเปิดแผนที่หรือคอยมอง GPS เพราะอาจทำให้เสียสมาธิในการเดินทาง ควรมีคนนั่งรถไปด้วยทุกครั้ง เพื่อช่วยในการดูเส้นทาง 
พกยารักษาโรคประจำตัวติดตัวไว้เสมอ พร้อมระบุอาการ รวมถึงวิธีการช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
งดใช้เครื่องมือที่ทำให้เสียสมาธิในการขับรถ 
ที่มา aommoney paolohospital mahidol

เพราะวัยเก๋าแบบเราอะไหล่หายากแล้วววว การป้องกันดูแลตัวเองไม่ให้เสี่ยงต่อการเกิดอุติเหตุจึงสำคัญ เพราะหากเจ็บป่วยขึ้นมาการรักษาตัวอาจนานกว่าวัยหนุ่มสาว จนทำให้ค่ารักษาบานปลายได้ จะดีกว่ามั้ยหากเรามีผู้ช่วยดูแลแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สมัครง่าย ไม่ต้องตรวจและไม่ต้องตอบคำถามสุขภาพ คุ้มครองถึงอายุ 90 ปี(1) กับโครงการ เมืองไทยวัยเก๋า คุ้มทั่วไทย (เพื่อผู้สูงอายุ) คุ้มฟินเวอร์เพราะคุ้มครองทั้งชีวิตและอุบัติเหตุ

คุ้มครองชีวิตสูงสุด 3 ล้านบาท(2) จากอุบัติเหตุสาธารณะ
คุ้มครองการรักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุด 25,000 บาท(3)
รับเงินชดเชยรายวันรวมสูงสุด 2,500 บาท(3) หากนอนรพ.จากอุบัติเหตุ และรับเพิ่มเป็น 2 เท่า หากรักษาตัวในห้องไอ.ซี.ยู
ทำได้ตั้งแต่อายุ 50 – 75 ปี
เบี้ยประกันเบาๆ เริ่มต้นเพียงวันละไม่ถึง 7 บาท(4)
(1) เฉพาะแบบประกันภัย เมืองไทยสบายใจ 90/90 (เพื่อผู้สูงอายุ) 
(2) สำหรับแผนความคุ้มครอง 6 ตั้งแต่ปีกรมธรรม์ที่ 3 เป็นต้นไป
(3) สำหรับแผนความคุ้มครอง 5,6 เป็นความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุส่วนบุคคล สบายใจ (เพื่อผู้สูงอายุ)
(4) สำหรับเพศหญิง อายุ 50 ปี แผนความคุ้มครอง 1 จำนวนเงินเอาประกันภัย 30,000 บาท เลือกชำระเบี้ยประกันรายปี

หมายเหตุ

ความคุ้มครองของสัญญาเพิ่มเติมต้องไม่เกินระยะเวลาเอาประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตที่สัญญาเพิ่มเติมนี้แนบท้าย
การพิจารณารับประกันภัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้