สูงวัยเตรียมเงินค่ารักษาพยาบาลเท่าไรถึงจะพอ

1480 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สูงวัยเตรียมเงินค่ารักษาพยาบาลเท่าไรถึงจะพอ

สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องดูแล เมื่อชีวิตเข้าสู่ช่วงสูงวัย อาจไม่ได้แข็งแรงเหมือนตอนหนุ่มสาว หากเจ็บป่วย หรือไม่สบาย ก็อาจทรุดหนักเป็น 2 เท่า ดังนั้นต้องหมั่นดูแล สุขภาพ ให้แข็งแรง ถ้าอยากใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข เพราะหากเจ็บป่วย หรือไม่สบายวันใด นอกจากจะทุกข์ทรมานร่างกายและจิตใจแล้ว เงินที่เก็บอาจต้องนำมาใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษาร่างกาย ซึ่งแต่ละปีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลก็ปรับตัวสูงขึ้น และคุณต้องมีเงินเก็บเท่าไรถึงจะพอ วันนี้เรามีข้อมูลดีๆ มาให้เตรียมตัวกัน

อุบัติเหตุ เจ็บกว่าร่างกายก็ค่ารักษาพยาบาล
ล้มทีนึง เข่าอาจจะทรุด ลมแทบจะจับกับค่ารักษาพยาบาล หากเตรียมตัวไม่ดี เพราะเมื่ออายุมากขึ้นร่างกายก็เสื่อมสภาพ โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่เคยแข็งแรง ก็ค่อย ๆ อ่อนแรงลง ทำให้เสี่ยงพลัดตก หกล้ม หรือประสบอุบัติเหตุรุนแรง ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วบอกเลยว่าค่ารักษาพยาบาลนั้นไม่ใช่น้อย ๆ ครั้งสองครั้งอาจยังพอไหว แต่ถ้ามากกว่านั้นกระเป๋าเงินสั่นไหวแน่นอน และถ้าถึงขั้นต้องเข้า ICU และรักษาตัวต่อเนื่องค่าใช้จ่ายก็จะไหลเป็นสายน้ำไม่มีวันหยุดจนกว่าอาการบาดเจ็บจะหาย

เราขอยกตัวอย่าง ให้เห็นภาพชัดขึ้น หากเราเกิดอุบัติเหตุลื่นล้ม ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน หรือนอนห้อง ไอ.ซี.ยู ประมาณ 20 วัน ผ่าตัดไป 2 ครั้ง ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ คือ

ค่าห้องไอ.ซี.ยู ค่ารักษาประมาณ 300,000++ บาท

ค่าห้องผ่าตัด ค่ารักษาประมาณ 200,000++ บาท

ค่าหมอ อุปกรณ์ ยา ฯลฯ ค่ารักษาประมาณ 300,000++ บาท

  รวมคร่าว ๆ ก็ ปาเข้าไปเลข 6 หลัก จะเข้าไปสู่หลักล้านแล้ว แต่ทั้งนี้ความหนักเบาของอุบัติเหตุแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นอาจแตกต่างกันแล้วแต่อาการ ค่าใช้จ่ายอาจไม่เท่ากัน ถ้าเงินสำรอง สวัสดิการ หรือประกันที่มีอยู่ ไม่ครอบคลุมล่ะก็ อะไรจะเกิดขึ้น อย่าลืมวางแผนเพื่อชีวิตและสุขภาพให้ดีที่สุด

ที่มา : เตรียมไว้พอหรือไม่? หากป่วยหนักเข้า ไอ.ซี.ยู ต้องใช้เงินเท่าไร

โรคเรื้อรังสูบเงินเก็บ มีเท่าไหร่ก็อาจไม่พอ
ด้วยอายุที่มากขึ้น อาการเจ็บป่วย ออดๆ แอดๆ ก็อาจจะแวะเวียนมาบ่อย ทำให้การรักษาพยาบาลอาจจะใช้เวลา และกระบวนการรักษาที่นานขึ้น ขึ้นอยู่กับอาการที่ตรวจพบด้วย โดยเฉพาะโรคเรื้อรังท๊อปฮิต ของผู้สูงวัย เช่น โรคเบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง หรือโรคมะเร็ง สาเหตุเกิดมาจากพฤติกรรมในการกินบ้าง การที่ออกกำลังกายที่น้อยลงบ้าง หรือการใช้ชีวิตเต็มที่โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมาตั้งแต่สมัยวัยรุ่น วัยทำงาน เมื่อเจ็บป่วยขึ้นมา โรคเรื้อรังพวกนี้ อาจจะทำให้เราต้องเตรียมค่ารักษาไว้ตั้งแต่เนิ่น เพราะโรคเรื้อรัง ต้องรักษากันนาน

 โรคไต เกิดจากการสูญเสียเลือด หรือน้ำในร่างกายมากเกินไป ป่วยด้วยภาวะความดันโลหิตสูง รวมถึงผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไปจนเกิดภาวะไตเสื่อม ซึ่งค่ารักษาขึ้นอยู่กับระยะของอาการ โดยศูนย์ไตเทียมโรงพยาบาลวิภาวดี ได้จำแนกค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อครั้งดังนี้

ค่าฟอกเลือด ครั้งแรก ครั้งละ 3,400 บาท (รวมค่าแพทย์) (คิดค่าเปิดใช้ตัวกรองครั้งแรก 1,200 บาท)

ค่าฟอกเลือด ครั้งต่อไป ครั้งละ 2,200 บาท

ค่าฟอกเลือด (ICU) ครั้งละ 4,700 บาท

โรคมะเร็ง โรคยอดฮิตที่คนไทยป่วยมากที่สุด อาทิ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมาก วิธีการรักษาและค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคและความซับซ้อน โดยสาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้ประมาณการค่าฉายรังสีในเวลาราชการสำหรับโรคมะเร็งที่พบบ่อย ดังนี้ มะเร็งเต้านม ค่ารักษาเริ่มต้น 69,300 บาท  มะเร็งปอด ค่ารักษาเริ่มต้น 141,100 บาท มะเร็งลำไส้ใหญ่ ค่ารักษาเริ่มต้น 103,000 บาท และ  มะเร็ง ต่อมลูกหมาก ค่ารักษาเริ่มต้น 184,400 บาท ทั้งนี้ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลง

● โรคเบาหวาน เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) หรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดให้เป็นพลังงานของเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยได้ประมาณการค่ารักษาของผู้ป่วยเบาหวาน 1 คน จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษา 28,200 บาทต่อคนต่อปี หรือเฉลี่ยเดือนละ 2,350 บาท

● โรคหัวใจ เป็นหนึ่งในสาเหตุการตายอันดับ 1 ของโลก โดยโรคหัวใจสามารถแบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น โดยหนึ่งในโรคที่มีค่ารักษาสูงมาก ซึ่งสถาบันโรคทรวงอกกำหนดค่ารักษาโดยประมาณ ดังนี้ ผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ค่ารักษาโดยประมาณ 124,000 – 503,000 บาท ผ่าตัดลิ้นหัวใจ ค่ารักษาโดยประมาณ 126,000 – 630,000 บาท ผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจเอออร์ต้าโป่งพอง ค่ารักษาโดยประมาณ 110,000 – 768,000 บาท

เจ็บป่วย นอนโรงพยาบาลต้องจ่ายค่าห้องเท่าไร
ปวดหัวขั้นกว่า นอกจากค่ารักษาที่ต้องจ่ายเกือบล้มละลายแล้ว สำหรับผู้สูงวัยหากเจ็บป่วยไม่สบายจนถึงขั้นแอดมิด นอนโรงพยาบาล ค่าห้องที่ต้องเตรียมจ่าย จะอยู่ที่ประมาณเท่าไร แต่บอกเลยว่านอนไม่ชิลล์เหมือนโรงแรม และทางที่ดีอย่านอนเลยน่ะ เชื่อสิ

 ห้องเดี่ยวมาตราฐาน โรงพยาบาลรัฐ เริ่มต้นประมาณ 1,500 บาท ส่วนโรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้นประมาณ  2,430 บาท

● ห้อง ไอ.ซี.ยู โรงพยาบาลรัฐ เริ่มต้นประมาณ 600 บาท ส่วนโรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้นประมาณ 3,250 บาท

ข้อมูลข้างต้นเป็นการสำรวจราคาจากเว็บไซต์ของโรงพยาบาลโดยตรง ทั้งนี้เป็นเพียงตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามแต่ละโรงพยาบาล กำหนด

ได้เห็นตัวเลขโดยประมาณของค่ารักษาพยาบาลกันแล้ว หากเปรียบก็คงเหมือนระเบิดเวลาในยามเจ็บป่วย เพราะเราไม่รู้เลยว่าจะต้องใช้เงินมากน้อยเท่าไรในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลแต่ล่ะครั้ง แต่ถ้าหากคุณมีความคุ้มครองที่ครอบคลุมสุขภาพในช่วงสูงอายุ ก็จะช่วยให้คุณคลายกังวลกับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น กับ ความคุ้มครองสุขภาพ ที่เหมาะสำหรับทุกเจเนเรชัน  คุ้มครองทั้งโรคระบาด โรคร้ายแรง โรคทั่วไป และอุบัติเหตุ เหมาจ่ายค่ารักษาตามจริง หากเจ็บป่วยขึ้นมา ก็สามารถเข้าพักรักษาในโรงพยาบาลชั้นนำได้

หมายเหตุ

● การพิจารณารับประกันเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของบริษัทฯ
● เบี้ยประกันภัยสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ ทั้งนี้ หลักเกณฑ์เป็นไปตามที่กรมสรรพากร กำหนด
● โปรดศึกษารายละเอียดความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจทำประกันภัย

ที่มา : Pobpad , Thaihealth

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้