จุดเด่น
หากโชคดี ไม่มีอุบัติเหตุ รับเบี้ยประกันภัยคืน เกิดอุบัติเหตุก็รับมือไหว ไม่เกิดอะไร ก็ได้เบี้ยประกันภัยคืน
- รับค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 100,000 บาท และเงินชดเชยรายได้ วันละ 1,000 บาท
- ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อน เมื่อแสดงบัตร Easy PA Credit ในการเข้ารับการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลคู่สัญญา
- คุ้มครองหากเสียชีวิตหรือทุพพลภาพ จากอุบัติเหตุสาธารณะ สูงสุดถึง 2,000,000 บาท
- เบี้ยประกันภัยคงที่ตลอดอายุสัญญา
ผลประโยชน์ความคุ้มครอง
หลักเกณฑ์การรับประกัน
- อายุเริ่มของผู้เอาประกันภัย : 6 ปี - 65 ปี
- ผู้เอาประกันภัย สามารถซื้อแบบประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล แบบ PA Return Cash ได้มากกว่า 1 สัญญา โดยจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมสูงสุด ต้องไม่เกินที่บริษัทกำหนดดังดังนี้
- อายุ 6 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 10,000,000 บาทต่อคน
- อายุ 7 - 15 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 15,000,000 บาทต่อคน
- สำหรับอายุ 7 ปี - 15 ปี หากต้องการซื้อทุนประกันในช่วง 10,000,001 - 15,000,000 บาท บิดาหรือมารดา และบุตรคนอื่น ต้องมีทุนประกันอุบัติเหตุที่เท่ากันหรือมากกว่า
- อายุ 16 - 60 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 40,000,000 บาทต่อคน
- อายุ 61 - 64 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อคน
- อายุ 65 ปี : รับประกันภัยได้ไม่เกิน 1,000,000 บาท และเมื่อรวมจำนวนเงินเอาประกันภัยของ P.A. และสัญญาเพิ่มเติมอุบัติเหตุอื่นๆ แล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยรวมต้องไม่เกิน 1,000,000 บาทต่อคน
- กรณีที่จำนวนเงินเอาประกันภัยเกินกว่าที่กำหนด บริษัทจะพิจารณาเป็นรายๆไป
ประเภทอาชีพ
- ประเภทอาชีพชั้นที่ 1 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านบริหารหรืองานจัดการ งานเสมียน หรืองานขายในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน และรวมถึงการทำงานฝีมือที่ไม่ใช้เครื่องจักรลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุต่ำ
- ประเภทอาชีพชั้นที่ 2 หมายถึง เจ้าของ ผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการ หรือพนักงานในธุรกิจหรือการค้า ซึ่งทำงานนอกสำนักงานเป็นครั้งคราว หรือปฏิบัติงานทางด้านอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาชีพเฉพาะหรือกึ่งอาชีพเฉพาะ และบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องจักร หรือเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งเกือบตลอดเวลาลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับปานกลาง
- ประเภทอาชีพชั้นที่ 3 หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานในด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการ ซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนักหรือเป็นผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขนส่งที่มีการเดินทางหรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุในระดับสูง
- ประเภทอาชีพชั้นที่ 4 หมายถึง ผู้ปฏิบัติงานที่มีอาชีพพิเศษ ซึ่งไม่สามารถจัดเข้าประเภทอาชีพชั้น 1,2 หรือ 3ลักษณะงานเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากเป็นพิเศษ
อัตราเบี้ยประกันภัย